วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การศึกษาไทย ใช้งบประมาณมากที่สุด แต่ผลลัพธ์กลับตรงข้าม
     ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลไทย จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นอันดับ 1 มาโดยตลอด ยกเว้นปี 2555 ที่ตกมาเป็นอันดับ 2 โดยงบประมาณแต่ละปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมด และจัดสรรงบดประมาณในวงเงินที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

     ล่าสุด คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงลประมาณรายจ่าย ประจำปีงลประมาณ 2556 ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ มากที่สุดเป็นจำนวนเงิน 460,411,800 บาท หรือประมาณร้อยละ 19.18 ของงบประมาณรวม 2.4 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับในปี 2556 นี้สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 4 หมื่นล้านบาท
  
อีกทั้งสัดส่วนงบประมาณด้สนการศึกษาต่อจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวามภายในประเทศ และงบประมาณด้านการศึกษาต่องบประมาณด้านการศึกษาต่องบประมาณแผ่นดิน อย่ในอัตราที่สูง หากดูย้อนไป 15 ปี ตั้งแต่ปี 2540-2544 จะพบว่า งบประมาณด้านกาศึกษาต่อจีดีพีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยบะ 4.12 และต่ำสุดคือร้อยละ 3.7 ในปี 2548 และสูงสุดที่ร้อยละ 4.48 ในปี 2543 ส่วนงบประมาณด้านการศึกษาต่องบประมาณแผ่นดินนั้น 15 ปี ที่ผ่านมายังไม่มีปีไหนที่ต่ำกว่าร้อยละ 20 

จากการรวบรวมข้อมูลคุณภาพหรือผลลัพธ์ทางการศึกษาที่สะท้อนออกมา และถ้าเปรียบเทียงกับประเทศอื่นๆ ที่ลงทุนด้วยจำนวนเงินในปริมาณใกล้เคียงกับเรอย่างสิงคโปร์ จะพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างไทยกับสิงคโปร์ยังไกลกันอยู่มาก

จากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งจันด้านการศึกษาที่จัดโดย สถาบันเพื่อนการพัฒนาการจัดการ หรือ IMD (Institue for Management Development) พบว่าตั้งแต่ปี 2548-2553 ประเทศไทยอยู่ในลำดับ 40 กว่ารั้งท้ายมาโดยตลอด หรือ ติด 1 ใน 14 ประเทศสุดท้ายทุกปี จากทั้งหมดประมาณ 55-61 ประเทศ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 10 ต้นๆ และประเทศมาเลเซียที่นำประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 30 กว่าๆ

หรือผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ก็พบว่ามีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ 1 ใน 200 ของโลกปี 2005-2006 และ 2008-2009 และในการจัดอันดับครั้งล่าสุด ในปี 2010-2011 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมหิดลเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ 1 ใน 400 มหาวิทยาลัยทั่วโลกโดยอยู่ในลำดับที่ 351-400

สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ.ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเดียงครั้งเดียวในปี พ.ศ.2549 โดยแบ่งผลการจัดอันดับออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านการเรียนการสอน และด้่านการวิจัย ซึ่งทั้ง 2 ด้วน สรุปออกมาได้ 5 กลุ่มตามคะแนนที่ได้รับคือ 1.ดิเลิศ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป) 2.ดีเยี่ยม (ร้อยละ 70-75 ) 3.ดี (ร้อยละ 65-69  ) 4.ดีพอใช้ (ร้อยละ 55-64) 5.ต้องปรับปรุง (ร้อยละ 55 ลงไป)

จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งหมด 50 แห่งทั่วประเทศ พบว่า ทั้งในด้านการเรียนการสอน และด้านการวิจัย มีมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1-3 ทางด้านการเรียนการสอน 14 แห่งด้านวิจัย 14 แห่ง เท่านั้น เมื่อคิดเป็นสัดส่วนประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไปเียงร้อยละ 28เท่านั้น

ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวถูกวิพิากษ์วิจารณ์อย่างมากกว่าไม่น่าเชื่อถือ ด้วยตัวชี้วัดที่เน้นการเรียนการสอนด้วนวิทยาศาสตร์มากเกินไปไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยบางแห่งที่เน้นสายสังคมศาสตร์มากกว่า ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งปฎิเสธที่จะเข้าร่วมจัดกอันดับ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในสวนของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางมหาวิทยาลัย เว็บโอเมตริกซ์ ได้จัดอันดับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกไว้ 500 อันดับ เป็นประจำทุกเดือนมกราคมและกรกฎาคมของปี โดยมีการให้คะแนนเกณฑ์หลักๆ คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่เเผยแพร่ข้อมูลหรือผลงานทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ มีข้อมูลเผยแพร่บนเว็บไซต์ที่หลากหลายรูปแบบ เช่น มีทั้ง .doc,pdf และสามารถสือค้นข้อมูย้อนหลังกลับไปได้อีก


วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนะนำตัว

สวัสดีค่ะ ^^

 
 

นางสาวศิรินภา  ยังมี   เพื่อนๆ เรียกว่า หน่อย
 อาชีพ นักศึกษา
         ศึกษาอยู่ที่ มาหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
         คณะ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี      สาขา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
         โปรแกรมวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์  ชั้นปีที่ 3/1

                                                           
                                                      บทเพลงที่ชื่นชอบ